รายละเอียด Details

ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลคลองสวนพลู ริมแม่น้ำป่าสัก ทางทิศใต้ฝั่งตรงข้ามของเกาะเมือง ห่างจากตัวเมืองราว 5 กิโลเมตร หรือเมื่อออกจากวัดใหญ่ชัยมงคล ให้เลี้ยวซ้ายตรงไปตามถนนประมาณ 1 กิโลเมตร ก็จะเห็นวัดพนัญเชิงอยู่ทางขวามือ วัดอันเป็นที่เลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนชาวไทยจีน แทรกโศกนาฏกรรมตำนานรักซ้อนอยู่ในชื่อ ตามพงศาวดารเหนือบันทึกไว้ว่าพระเจ้าสายน้ำผึ้ง กษัตริย์ผู้ครองอโยธยาก่อนราชวงศ์อู่ทองทรงสร้างขึ้น ณ บริเวณที่พระราชทานเพลิงพระศพพระนางสร้อยดอกหมาก พระราชธิดาบุญธรรมในพระเจ้ากรุงจีน ซึ่งยกให้อภิเษกสมรสกับพระเจ้าสายน้ำผึ้ง แต่เมื่อกลับจากรับตัวพระนางมาจากเมืองจีน พระเจ้าสายน้ำผึ้งรับสั่งให้พระนางรออยู่ที่เรือพระที่นั่งก่อน จะทรงจัดขบวนมารับเข้าวัง แต่พระองค์มิได้เสด็จมารับว่าที่พระอัครมเหสีด้วยองค์เอง พระนางสร้อยหมากจึงไม่ยอมขึ้นจากเรือ เป็นเช่นนี้อยู่ 2 ครั้ง พระเจ้าสายน้ำผึ้งรับสั่งสัพยอกทั้ง 2 ครั้งว่า "เมื่อไม่ขึ้นก็จงอยู่ที่นี่เถิด" ด้วยความน้อยพระทัย พระนางสร้อยหมากทรงกลั้นพระทัยถึงแก่สวรรคตทันที เป็นที่มาของชื่อวัดว่า วัดพระนางเชิง ยังคงพบเห็นตำหนักเจ้าแม่สร้อยดอกหมากริมแม่น้ำป่าสัก สถานที่ประดิษฐานรูปปั้นเจ้าแม่สร้อยดอกหมาก หรือชาวจีนเรียกว่า จู๊แซเนี้ย ผู้คนจำนวนมากเดินทางมาที่พระอารามหลวงชั้นโทชนิดวรวิหาร สังกัดมหานิกายนี้ หวังใจว่าจะนมัสการหลวงพ่อโต พระคู่บ้านคู่เมืองอยุธยามาช้านาน ซึ่งตามพงศาวดารกล่าวว่าสร้างขึ้นก่อนสถาปนากรุงศรีอยุธยาถึง 26 ปี หรือตรงกับ พ.ศ. 1867 เดิมนามว่า พระเจ้าพแนงเชิง หรือเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวจีนว่า เจ้าพ่อซำปอกงหรือผู้คุ้มครองการเดินทางในทะเล ซึ่งได้รับพระราชทานนามใหม่จากรัชกาลที่ 4 ว่า พระพุทธไตรรัตนนายก เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทอง ศิลปะอู่ทองตอนปลาย ปางมารวิชัยขัดสมาธิราบ ขนาดหน้าตักกว้าง 14.20 เมตร สูง 19.20 เมตร นับได้ว่าเป็นพระพุทธรูปสมัยอยุธยาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ประดิษฐานในพระวิหารใหญ่ซึ่งสร้างคลุมในภายหลัง เสาเขียนสีลายพุ่มข้าวบิณฑ์ก้านแย่งสีแดง หัวเสาประดับปูนปั้นรูปบัวกลุ่มกลีบซ้อนกันหลายชั้น บานประตูไม้แกะสลักลอยตัวเป็นลายก้านขดยกดอกนูนออกมา ผนัง 4 ด้านเจาะช่องบรรจุพระพุทธรูป 84,000 องค์เท่าจำนวนพระธรรมขันธ์ เรียกว่าพระงั่ง งดงามชวนตะลึงยิ่งนัก ตามคำให้การชาวกรุงเก่ายังบันทึกไว้ด้วยว่า เมื่อคราวจะเสียกรุงใน พ.ศ. 2310 หลวงพ่อโตมีน้ำตาไหลออกมาเป็นสาย เป็นที่อัศจรรย์นัก ส่วนพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปทอง ปูนและนาค ซึ่งเดิมทีเป็นเพียงพระพุทธรูปปูนปั้นทั้ง 3 องค์ แต่เพิ่งค้นพบภายหลังว่าเป็นทองและนาคเมื่อปูนกระเทาะออก จึงสันนิษฐานว่าก่อนจะเสียกรุง ชาวบ้านนำปูนมาพอกองค์พระไว้เพื่อป้องกันไม่ให้พม่าเผาลอกเอาทองพระไป ส่วนวิหารเซียน อาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหน้าพระวิหารหลวง เดิมมีภาพจิตรกรรมฝาผนังงดงามทั้ง 4 ด้าน แต่ถูกโบกปูนทับเมื่อคราวปฏิสังขรณ์ และมีศาลาการเปรียญ เป็นศาลาไม้ทรงไทย หน้าบันประดับช่อฟ้าใบระกา หางหงส์ มีภาพพุทธประวัติบนผ้าติดไว้ที่ขื่อพร้อมลง พ.ศ. 2472 กำกับไว้ ภายในมีธรรมาสน์สลักลวดลายแบบรัตนโกสินทร์สวยงามมาก เข้านมัสการได้ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. คนไทยเข้าชมฟรี สำหรับชาวต่างชาติเสียค่าเข้าชมคนละ 20 บาท วัดนี้ยังจัดงานประจำปียิ่งใหญ่ถึง 4 ครั้ง ได้แก่ งานมหาสงกรานต์ งานสรงน้ำและห่มผ้าถวายวันแรม 8 ค่ำ เดือนเมษายน งานทิ้งกระจาดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเมืองไทย มีงิ้วและมหรสพมาแสดงจนเรียกอีกชื่อหนึ่งว่างานงิ้วเดือน 9 และสุดท้ายคืองานตรุษจีน เปิดวิหารหลวงให้นมัสการหลวงพ่อโตถึง 5 วัน

Overlooking the River on the opposite bank from the main city, Wat Phanan Choeng was founded shortly before the establishment of Ayutthaya as the Kingdoms capital. Its main building enshrines a huge, seated Buddha image, that is 57 feet tall an object of particular devotion to Thais of Chinese origin. Wat Phanan Choeng Worawiharn is located in Khlong Suan Plu subdistrict, on the south bank Of Pasak River opposite the main city. From Wat Yai Chai Monkon, make a left turn and keep going for a kilometer, you will find Wat Phanan Choeng on your right.Although Wat Phanan Choeng has been built even before the establishment of Ayutthaya as the capital city, there is no clear record about its founder. According to the Northern Chronicles, Phra Chao Sai Namphung, the ruler of Ayotthaya, had it built at the royal cremation site of Phra Nang Soi Dok Mak and named the temple "Wat Phra Chao Nang Choeng" (or Wat Phra Nang Choeng)The assembly hall (vihara) houses a majestic Buddha image cast in B.E. 1324, 26 years before the establishment of Ayutthaya. This Buddha image was formerly called "Phra Buddha Chao Phanan Choeng", until King Rama IV renamed it "Phra Buddha Trirattana Nayok". It was built of stucco in subduing Mara posture and was magnificently lacquered and gilt. In front of the Buddha Image are a talipot fan and 2 statues of disciples made of stucco sitting on its left- and right- hand side. The columns inside the assembly hall were decorated with red painting of Phum Khao Bin pattern. The capitals of the columns were ornamented with stucco multi-petal lotus flowers. All the 4 walls were indented to make several chambers which enshrine 84,000 small Buddha images. The wooden front doors were craved exquisitely with Kan Khod pattern, a distinctive feature of Ayutthya Art. The ordination hall (ubosot) houses Sukhothai-style Buddha images. Viharn Sien in front of the main assembly hall is a rectangular building whose walls decorated by mural painting. The traditional Thai architectural sermon hall is made of wood. Its pediment was ornamented with a gable apex and ridges. The crossbeam inside was covered with the painting portraying the life of the Lord Buddha. In addition, you will find the shrine of Chao mae Soi Dok Mak, the Chinese architecture enshrining the statue of Chao mae Soi Dok Mak in Chinese costume.

วัดพนัญเชิงวรวิหาร Wat Phananchoeng Ratchaworavihan

หมายเลขตราสัญลักษณ์SHA ID : C0139
location_on พระนครศรีอยุธยา Phra Nakhon Si Ayutthaya
ข้อมูลติดต่อ Contact info
  • home วัดพนัญเชิงวรวิหาร หมู่ 2 คลองสวนพลู พระนครศรีอยุธยา พระนครศรีอยุธยา 13000 Wat Phananchoeng Ratchaworavihan Moo 2 Khlong Suan Phlu Phra Nakhon Si Ayutthaya Phra Nakhon Si Ayutthaya 13000
  • call 035241708
  • public -
  • email chirdchai2011@gmail.com
  • access_time 07.00 น - 17.00 น. 07.00 a.m. - 05.00 p.m.
  • ติดต่อเรา
    ติดต่อเรา

    การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สำนักงานใหญ่)
    1600 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 ประเทศไทย

    Tourism Authority of Thailand
    1600 Phetchaburi Road, Makkasan, Ratchathevi,

    โทรศัพท์ : 0 2250 5500

    Telephone : +662 250 5500

    ศูนย์บริการช่วยเหลือนักท่องเที่ยว 1672

    Live Chat Call Center 1672

    อีเมล : info@thailandsha.com Line official Account : @thailandsha

    Email : info@thailandsha.com Line official Account : @thailandsha